วิธีลงทะเบียนเงินสงเคราะห์บุตร เพื่อรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน โดยจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาท/บุตร 1 คน/เดือน คราวละไม่เกิน 3 คน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์
*กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต หรือ ได้รับมติให้เป็นผู้ทุพพลภาพ บุตรจะยังคงได้รับเงินสงเคราะห์บุตรต่อไปจนอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฏหมาย
เงินสงเคราะห์บุตรผู้ประกันตน มาตรา 33 และ 39
ต้องนำส่งเงินสมทบเกิน 12 เดือน ภายใน 36 เดือน บุตรจะได้รับเงินคนละ 800 บาทต่อเดือน (คราวละไม่เกิน 3 คน)
เงินสงเคราะห์บุตรผู้ประกันตน มาตรา 40
จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 24 เดือน ภายใน 36 เดือน และขณะรับเงินสงเคราะห์บุตรต้องส่งเงินสมทบทุกเดือน
- ทางเลือก 70 บาท – ไม่ได้สิทธิ์
- ทางเลือก 100 บาท – ไม่ได้สิทธิ์
- ทางเลือก 300 บาท – ได้รับสิทธิ์ บุครคนละ 200 บาทต่อเดือน (คราวละไม่เกิน 2 คน)
ขั้นตอนยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม ล่าสุด 2565
- จัดเตรียมเอกสาร
- ยื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน
- เงินโอนเข้าบัญชีธนาคาร / พร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน
ขั้นตอนจัดเตรียมเอกสารเพื่อขอรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท
- แบบคำร้อง สปส. 2-01
- หน้าแรกสมุดบัญชีที่ต้องการรับเงินสงเคราะห์บุตร ชื่อบัญชีต้องตรงกับชื่อผู้ขอรับสิทธิ์
- กรณีรับเงินผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน ท่านจะต้องทำการผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนอยู่ก่อนแล้ว
กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ
- สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสาเนา
กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ์
- สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสาเนา
- สาเนาทะเบียนสมรส หรือสาเนาทะเบียนการหย่าพร้อมบันทึกแนบท้าย หรือสาเนาทะเบียนรับรองบุตร
หรือสาเนาคาพิพากษา หรือคาสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
*กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ให้แนบสาเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย
ขั้นตอนยื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคม
หากท่านทำงานบริษัท แนะนำให้ปรึกษาฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือ ฝ่ายธุรการก่อน เพราะบริษัทจะมอบหมายให้หน่วยงานนี้ดูแลเกียวกับสิทธิ์สวัสดิการให้กับพนักงาน เช่น เป็นตัวแทนพนักงานติดต่อสำนักงานประกันสังคม หรือ เป็นตัวแทนพนักงานติดต่อหาแหล่งเงินกู้ สินเชื่อรถ สินเชื่อบ้าน เป็นต้น
- ยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน
- ยื่นผ่านตัวแทนบริษัท เช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือ ฝ่ายธุรการ เป็นต้น
ขั้นตอนรับเงินสงเคราะห์บุตร
เมื่อท่านยื่นเอกสารเรียบร้อยแล้วทางสำนักงานประกันสังคมจะตรวจสอบสิทธิ์และออกเอกสารแจ้งมายังที่อยู่ของท่านเพื่อยืนยันว่าท่านได้รับสิทธิ์เงินสงเคราะห์บุตรหรือไม่
วันโอนเงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 800 บาท
- ส่งเงินสมทบ ม.ค. 65 ได้เงิน 29 เม.ย. 65
- ส่งเงินสมทบ ก.พ. 65 ได้เงิน 31 พ.ค. 65
- ส่งเงินสมทบ มี.ค. 65 ได้เงิน 30 มิ.ย. 65
- ส่งเงินสมทบ เม.ย. 65 ได้เงิน 29 ก.ค. 65
- ส่งเงินสมทบ พ.ค. 65 ได้เงิน 31 ส.ค. 65
- ส่งเงินสมทบ มิ.ย. 65 ได้เงิน 30 ก.ย. 65
- ส่งเงินสมทบ ก.ค. 65 ได้เงิน 31 ต.ค. 65
- ส่งเงินสมทบ ส.ค. 65 ได้เงิน 30 พ.ย. 65
- ส่งเงินสมทบ ก.ย. 65 ได้เงิน 29 ธ.ค. 65
- ส่งเงินสมทบ ต.ค. 65 ได้เงิน 31 ม.ค. 66
- ส่งเงินสมทบ พ.ย. 65 ได้เงิน 28 ก.พ. 66
- ส่งเงินสมทบ ธ.ค. 65 ได้เงิน 31 มี.ค. 66
เงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้าเกิดจากอะไร?
ลักษณะแบบนี้มีคนถามเป็นจำนวนมาก เบื้องต้นขอให้ท่านตรวจสอบตัวท่านเองดังนี้
- ผู้ได้รับสิทธิ์ออกจากงาน และไม่ยื่นต่อมาตรา 39 หรือไม่
- ผู้ได้รับสิทธิ์ไม่ได้ส่งเงินสมทบหรือไม่
- ผู้ได้รับสิทธิ์ ย้ายงาน / เปลี่ยนงาน หรือ เป็นจากมาตรา 33 เป็น 39 หรือ จากมาตรา 39 เป็น 33 แล้วไม่ยื่นเรื่องรับเงินสงเคราะห์บุตรคนเดิม หรือไม่
- บุตรมีอายุเกิน 6 ปี หรือไม่
- บุตรเสียชีวิตหรือไม่
- ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่นหรือไม่
เงินสมทบ คือ อะไร?
เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้าง จะต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณจากค่าจ่างที่ลูกจ้างได้รับ ซึ่งกำหนดจากฐานค่าจ้างที่ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท โดยรัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนด้วยส่วนหนึ่ง
คนที่หักเงินสมทบคือใคร และถูกหักเงินอย่างไร
ลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล โดยถูกจ้างจะถูกนายจ้างหักในอัตราร้อยละ 5 ของค่าจ้าง นายจ้างก็จะร่วมจ่ายเงินสมทบเท่าจำนวนที่รับจากลูกจ้างคืออัตราร้อยละ 5 และรัฐบาลร่วมจ่ายสมทบในอัตราร้อยละ 2.75 ตามตารางครับ
อ้างอิง วิธีลงทะเบียนเงินสงเคราะห์บุตร / เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน